วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Manchester United.

ประวัติศาสตร์สโมสร

อ้างอิงตามชื่อฤดูกาล ซึ่งเป็นปี ค.ศ.

สโมสรในช่วงแรก (1878-1945)


11 ตัวจริงหลักของ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในช่วงปี ค.ศ. 1913
สโมสรในช่วงแรก (1878-1945) สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่จริงแล้วชื่อเดิมของสโมสรนั้น คือ "นิวตัน ฮีท " ในปี ค.ศ. 1878 พนักงานการรถไฟสายแลงคาเซี้ยร์ แอนด์ ยอร์คเชียร์ แผนกรถสินค้าและรถโดยสารของบริษัทรถไฟแอล.และวาย. (Lancashire and Yorkshire Railway (LYR) ในระหว่างที่กำลังรับประทานอาหารมื้อเย็นอยู่นั้น พวกเขาได้ร่วมก่อตั้งทีมฟุตบอลกันขึ้นมา และตระเวณเล่นกันอยู่ในแถบเมืองนอร์ธกราวด์ ซึ่งอยู่ในนิวตัน ฮีท สถานที่ซ้อมก็ใช้รางรถไฟ เป็นเส้นแบ่งเขตสนาม ตลอดจนเสียงและควันจากรถไฟรถจักรไอน้ำ ทีมฟุตบอล นิวตัน ฮีท (แลนแคเชียร์ แอนด์ ยอร์ดเชียร์เรลเวย์) ที่พวกเขา ตั้งขึ้นมาก็เล่น ฟุตบอล กัน ได้อย่างดีเยี่ยมน่าประทับใจ โดยชุดแข่งที่ใช้เสื้อสีเขียว-เหลือง อย่างละครึ่ง กางเกงสีดำเป็นชุดเก่ง พนักงานที่อยู่ในแถบนั้น แพ้นิวตัน ฮีท กระจุย ในปี 1885 สมาชิกในทีมได้ตัดสินใจติดต่อกับการรถไฟ และก่อตั้งทีมเพื่อเป็น บริษัท จำกัด โดยใช้ชื่อว่า นิวตัน ฮีท ฟุตบอลคลับ ผลงานชิ้นแรกของเขาคือการคว้าแชมป์ แมนเชสเตอร์ คัพมาครอง นั้นคือถ้วยแรกของทีม นิวตัน ฮีท ในช่วงต้นของสโมสรฟุตบอลทุก ๆ สโมสรในขณะนั้น ต่างก็มีฐานะการเงินที่ย่ำแย่ นิวตัน ฮีท ก็เช่นเดียวกัน
ในปี 1902 นักเตะต้องจำนำชุดเพื่อนำมาใช้จ่ายแทนค่าจ้าง ขณะที่ สโมสร ฯ เป็นหนี้ถึง 2,670 ปอนด์ ซึ่งต้องถูกฟ้องล้มละลาย จุดพลิกผันได้เกิดขึ้น จอห์น เฮนรี่ เดวี่ส์ ผู้อำนวยการบริษัทเบียร์ ได้เข้ามาซื้อหุ้นของสโมสร และกรรมการบริหารชุดใหม่ ได้เปลี่ยนชื่อนิวตัน ฮีท เป็น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พวกเขาเริ่มลงเล่นในเสื้อแดงและกางเกงขาสั้นสีขาว อีก 6 ปีต่อมา แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็คว้าแชมป์ฟุตบอลลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 1907 - 1908 ในฤดูกาลต่อมาพวกเขาก็คว้าแชมป์ เอฟเอคัพได้สำเร็จ จากความสำเร็จทำให้ จอห์น เฮนรี่ เดวี่ส์ คิดที่จะย้ายสโมสรจากเดิมที่แบ๊งค์สตรีท ไปอยู่ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด และเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1910 สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ก็ถูกเปิดใช้เป็นครั้งแรกและคู่แค้นตลอดกาลอย่าง ลิเวอร์พูล ก็บุกมาเฉือนพวกเขา 4-3

ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี (1945-1969)

แมตต์ บัสบีได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกในปี 1947 และชนะเลิศเอฟเอ คัพในปีต่อมา
บัสบีเป็นคนที่ดึงนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาหลายคน จนได้แชมป์ลีกในปี 1956 ด้วยอายุเฉลี่ยของนักเตะเพียง 22 ปีเท่านั้น ในปีต่อมา เขาก็ได้พาทีมเป็นแชมป์ลีกอีกครั้ง และยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ แต่ไปไม่ถึงดวงดาวโดยการแพ้ต่อแอสตัน วิลลา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นทีมแรกของอังกฤษที่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลยูโรเปียนคัพ และยังได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกด้วย

โล่ประกาศเกียรติคุณของผู้ที่เสียชีวิตในอุบัติเหตุ โศกนาฏกรรมมิวนิก
ในปี 1958 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของสโมสร เมื่อเครื่องบินที่บรรทุกนักเตะและทีมงานของสโมสร ที่กลับจากการไปแข่งขันยูโรเปียนคัพรอบก่อนรองชนะเลิศกับทีมเรดสตาร์เบลเกรด ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศแล้วได้ประสบอุบัติเหตุที่สนามบินในเมืองมิวนิก หลังจากแวะพักเครื่องบินที่เมืองมิวนิค ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง เหตุการณ์ครั้งนั้นได้คร่าชีวิตนักเตะของทีมไปถึง 8 คน รวมถึงทีมงานสต๊าฟโค้ชและผู้โดยสารคนอื่นอีก 15 คน รวมเป็น 23 คน หนึ่งในคนที่เสียชีวิตในครั้งนี้ คือ ดันแคน เอ็ดเวิร์ด นักเตะดาวรุ่งพรสวรรค์สูงสุดในขณะนั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้คาดว่าจะเป็นจุดตกต่ำของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่จิมมี เมอร์ฟีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมในช่วงที่บัสบี้กำลังรักษาอาการบาดเจ็บ และใช้ตัวผู้เล่นแก้ขัดไปหลายตำแหน่ง แต่ทีมก็ยังสามารถเข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพได้อีกครั้ง โดยครั้งนี้พ่ายต่อโบลตันทำให้ได้เพียงรองแชมป์เท่านั้น
หลังจากรักษาตัวเองแล้ว บัสบี้ได้ปรับปรุงทีมในช่วงต้นของทศวรรษ 60 โดยการเซ็นสัญญาคว้านักเตะอย่าง เดนิส ลอว์ กับ แพท ครีแลนด์มาเสริมทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก็ชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอ คัพในปี 1963 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกในปี 1965 และ 1967 นอกจากนี้ ยังได้แชมป์ฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพเป็นสโมสรแรกของอังกฤษในปี 1968 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปี เท่านั้นหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่มิวนิค ที่ทำให้ทีมต้องสูญเสียผู้เล่นตัวหลักไปถึง 8 คน และจากความยอดเยี่ยมของทีมชุดนี้ ทำให้มีนักเตะ 3 คนด้วยกัน ที่สามารถคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของยุโรป (บัลลงดอร์) ได้แก่เดนิส ลอว์ ได้รับรางวัลในปี 1964 คนที่สองคือบ็อบบี ชาร์ลตันได้รับในปี 1966 หลังจากพาทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกและครั้งเดียวของพวกเขา และจอร์จ เบสต์ได้รับรางวัลในปี 1968 หลังจากโชว์ฟอร์มอันยอดเยี่ยมพาแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ฟุตบอลยูโรเปียน คัพเป็นครั้งแรกของสโมสรและครั้งแรกของอังกฤษ
บัสบีได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในปี 1969 โดยมีวิฟ แมคกินเนสโค้ชทีมสำรองทำหน้าที่แทน

1969-1986


ไบรอัน ร็อบสัน อดีตผู้เล่นในตำนานของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
สโมสรได้พยายามหาตัวแทนที่เหมาะสมของบัสบี โดยใช้ผู้จัดการทีมไปหลายคน ได้แก่ วิฟ แมคกิวเนส, แฟรงค์ โอฟาร์เรล ก่อนที่ ทอมมี โดเคอร์ตี้เข้ามาคุมทีมในปี 1972 เขาได้ช่วยทีมให้รอดจากการตกชั้น แต่อย่างไรก็ดี ทีมก็ได้ตกชั้นลงไปในปี 1974 แต่สโมสรก็ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในปีถัดไป และยังได้เข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพในปีต่อมาอีกด้วย จากนั้นก็ได้เข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งในปี 1977 โดยครั้งนี้สามารถคว้าแชมป์ได้โดยการเอาชนะทีมลิเวอร์พูล เป็นการดับความหวังการคว้าสามแชมป์ในปีเดียวกันของหงส์แดงลงไป ถึงเขาจะทำหน้าที่ได้ดี แต่ก็ถูกไล่ออกหลังจากรอบชิงชนะเลิศปีนั้นเนื่องจากมีข่าวพัวพันกับภรรยาของนักกายภาพบำบัด
เดฟ เซกซ์ตันได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมต่อในฤดูกาล 1977-1978 และเปลี่ยนระบบการเล่นของทีมให้เน้นเกมรับมากขึ้น ระบบนี้ทำให้แฟนบอลไม่ค่อยพอใจมากนัก หลังจากทำทีมไม่ประสบความสำเร็จ เขาถูกไล่ออกในปี 1981
รอน แอคคินสันได้เข้ามาทำหนาที่นี้แทน เมื่อเขาเข้ามาก็ได้ทำลายสถิติซื้อขายสูงสุดของอังกฤษโดยการคว้าตัวไบรอัน ร็อบสัน มาจากเวสต์บรอมวิช รวมถึง การคว้าตัว เจสเปอร์ โอลเซน และกอร์ดอน สตรัคคั่น ในขณะที่มีนักเตะอย่างมาร์ค ฮิวจส์ และนอร์แมน ไวท์ไซด์ที่ขึ้นมาจากทีมเยาวชนของสโมสร แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้แชมป์เอฟเอ คัพในปี 1983
ปี 1985 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำผลงานได้ดีในช่วงเปิดฤดูกาลโดยการชนะ 10 นัดรวด ทำให้มีคะแนนนำทีมอื่นถึง 10 คะแนนตั้งแต่ต้นฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทีมทำผลงานได้ไม่ดีและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 ของลีก ผลงานในปีต่อมาก็ไม่ได้ดีขึ้น ทีมต้องหนีการตกชั้น ทำให้รอน แอคคินสันถูกไล่ออกไป

ยุคของ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (1986-2013)


อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน อดีตผู้จัดการทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้เข้ามาคุมทีมต่อ โดยในฤดูกาลแรกสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 11 แต่ในปีต่อมาก็ได้อันดับสองโดยไบรอัน แมคแคลร์ทำประตูได้ถึง 21 ประตู เป็นคนแรกของทีมหลังจากที่จอร์จ เบสต์เคยทำได้มาก่อนหน้านี้
ในปี 1989 เฟอร์กูสันเกิดความยากลำบากในการคุมทีมขึ้น เนื่องจากตัวผู้เล่นหลายตัวที่เขานำเข้ามาในทีมไม่เป็นที่พอใจของแฟนบอล มีข่าวออกมาว่าสโมสรจะปลดเฟอร์กี้ออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงต้นปี 1990 แต่การชนะนอตติ้งแฮม ฟอเรสต์ในรอบสาม ของเอฟเอ คัพ ก็ทำให้เขาสามารถคุมทีมต่อไปได้ จนคว้าแชมป์เอฟเอ คัพได้ในปีนั้น เป็นแชมป์แรกให้กับเขาในการคุมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ฤดูกาล 1990-91 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์คัพ วินเนอร์ส คัพ โดยการเอาชนะบาร์เซโลนา จากสเปน ในนัดชิงชนะเลิศ แต่ปีต่อมาทีมทำผลงานไม่ดีนักในพรีเมียร์ลีก
สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนเมื่อปี 1991 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 18 ล้านปอนด์ จากนั้น สโมสรต้องเปิดเผยข้อมูลการเงินทั้งหมดสู่สาธารณะ

เอริก กองโตนา อดีตกองหน้าคนสำคัญของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในช่วงฤดูกาล 1992-1997
เอริก กองโตนาย้ายจากลีดส์ ยูไนเต็ดมาร่วมทีมเมื่อปี 1992 ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมเป็นอย่างมาก ทำให้ทีมได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนั้นทันที ซึ่งนับเป็นแชมป์ลีกหนแรกในรอบ 26 ปี นับจากที่ได้มาครั้งล่าสุดในปี 1967 ปีต่อมา ทีมได้ดับเบิลแชมป์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร แต่ในปี 1994 นั้นเอง แมตต์ บัสบี้ ตำนานกุนซือของได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 มกราคม
ฤดูกาล 1994-95 คันโตนาถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษห้ามแข่งถึง 8 เดือน หลังจากที่ไปกระโดดถีบใส่แมทธิว ซิมมอนส์ แฟนบอลคริสตัล พาเลซ ปีนั้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รองแชมป์ทั้งพรีเมียร์ลีกและเอฟเอ คัพ เฟอร์กูสันได้กระทำสิ่งที่ขัดใจแฟนบอลของทีมอีกครั้ง ด้วยการขายนักเตะสำคัญของทีมและดันนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาเล่นแทน แต่ปีนั้นทีมก็สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้อย่างน่ายกย่อง โดยเป็นทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้เป็นสมัยที่สองซึ่งเว้นจากครั้งแรกที่ได้ดับเบิ้ลแชม์ในปี 1994 เพียงปีเดียว และสามารถที่จะลบคำสบประมาทที่ถูกปรามาสเอาไว้ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จใดๆได้ จากการผลักดันเด็กเยาวชนของทีมให้ขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่
สโมสรคว้าแชมป์ลีกอีกครั้งในปี 1997 จากนั้น เอริค คันโตนาได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลด้วยวัยเพียง 30 ปีซึ่งเร็วกว่านักเตะคนอื่นๆ มาก ฤดูกาลทีมยังเริ่มต้นการแข่งขันได้ดี แต่มีปัญหาอาการบาดเจ็บรบกวนมามากจนทำให้จบฤดูกาลได้เพียงอันดับสองเท่านั้น
ปี 1998-99 ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเป็นทีมแรกของอังกฤษที่คว้าทริปเปิลแชมป์ ซึ่งประกอบด้วยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟาแชมเปียนส์ลีกได้ในฤดูกาลเดียวกันอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยในนาทีสุดท้ายของเกมนั้น ทีมยังตามหลังบาเยิร์นมิวนิกอยู่ 1-0 แต่แล้วในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ 3 นาทีนั้น ทีมสามารถทำได้ถึงสองประตูพลิกกลับมาชนะ 2-1 ได้อย่างเหลือเชื่อจากเท็ดดี เชอริงแฮม และ "เพชฌฆาตหน้าทารก" อูเล กุนนาร์ ซูลแชร์

ไรอัน กิกส์ นักเตะที่ลงเล่นมากที่สุดของสโมสร
จากการคว้าสามแชมป์ ทำให้อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ได้รับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบถที่ 2 เป็นเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เพื่อตอบแทนผลงานที่สามารถสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้แก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ได้รับตำแหน่งเซอร์คนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยผู้ที่ได้รับคนแรกคือ เซอร์แมตต์ บัสบี้ คนที่สองคือ เซอร์บ็อบบี้ ชาร์ลตัน ตำนานของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
หลังจากคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาล 1999-2000 ถึง 2000-2001 ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการฟุตบอลอังกฤษโดยการแชมป์ลีก 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งเป็นทีมทึ่ 3 ที่ทำได้ (ทีมที่ทำได้ก่อนหน้าคือทีมแรกอาร์เซนอลฤดูกาล 1932-33, 1933-34 และ 1934-35และลิเวอร์พูล) และในช่วงนั้นยูไนเต็ดได้คว้าตัวนักเตะสำคัญคือ กองหน้าชาวดัตช์ รืด ฟัน นิสเติลโรย ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็น 1 ในตำนานสโมสรที่ลงสนาม 220 นัด และยิงได้ถึง 150 ประตู และริโอ เฟอร์ดินานด์ กองหลังที่มีค่าตัวสูงถึง 30 ล้านปอนด์
แต่อย่างไรก็ดี ในปี 2001-2006 ยูไนเต็ดได้ประสบปัญหาหลายอย่าง อย่างแรกคือสโมสรไม่สามารถหาผู้รักษาประตูที่เป็นตัวตายตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิล ได้ สโมสรได้เปลี่ยนผู้รักษาประตูมือ 1 หลายคน ไม่ว่าจะเป็นมาร์ค บอสนิช, ไรมอนด์ ฟาน เดอ ฮาว, มัสซิโม่ ตาอิบี้, พอล ราชุบก้า, แอนดี้ กอแร่ม, ฟาเบียง บาร์แตซ, ทิม โฮเวิร์ด, รอย คาโรล, และ ริคาร์โด้ โลเปซ และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือมีผู้เล่นที่เป็นกำลังหลักจำนวนมากได้ออกจากสโมสรไม่ว่าจะเป็นยาป สตัมเดวิด เบ็คแฮมรอย คีนกัปตันทีม, หรือแม้กระทั่งรืด ฟัน นิสเติลโรย โดยมีสาเหตุมาจากการมีปัญหากับเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน [5] [6] ทั้งสิ้น ในช่วง 5 ปีนี้ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ลีกเพียงครั้งเดียว (ฤดูกาล 2002-2003) และได้ถ้วยรางวัลอื่นๆ อีก 2 รายการ คือ เอฟเอคัพ (2003-2004) และ ลีกคัพ (2005-2006) เท่านั้น โดยใน 2 ฤดูกาลหลัง เชลซีได้เข้ามามีบทบาทเด่นในฟุตบอลลีกเนื่องมาจากการเข้าเทคโอเวอร์สโมสรของ โรมัน อบราโมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทำให้เชลซีมีงบประมาณซื้อตัวผู้เล่นไม่จำกัดและคว้าแชมป์ลีก 2 ปีติดต่อกัน
ต่อมาในปี 2006-2008 อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้ผ่าตัดทีมใหม่อีกครั้ง โดยมีแกรี่ เนวิลล์ เป็นกัปตันทีมคนใหม่ที่รับตำแหน่งกัปตันแทน รอย คีน 11 ผู้เล่นของยูไนเต็ดมีความลงตัวกว่าปีที่ผ่านๆ มา ผู้เล่นที่โดดเด่นมีแอ็ดวิน ฟัน เดอร์ซาร์ ผู้รักษาประตูทีมชาติฮอลแลนด์ที่เป็นตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิล และกองหลังมีเนมานย่า วิดิช ผู้เล่นยอดเยี่ยมของเซอร์เบียแอนด์มอนเตเนโกร และริโอ เฟอร์ดินานด์กองหลังค่าตัว 30 ล้านปอนด์เป็นแกนกลาง, ปีกซ้ายขวามี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ปีกดาวรุ่งโปรตุเกสที่สืบทอดเสื้อหมายเลข 7 ต่อจากเดวิด เบ็คแฮม และนานี่ ปีกดาวรุ่งผู้เป็นตัวแทนของไรอัน กิ๊กส์ และกองหน้ามีเวย์น รูนี่ย์ ดาวยิงประตูที่มีค่าตัวถึง 27 ล้านปอนด์ [7] เป็นกำลังหลัก อเล็กซ์เฟอร์กูสันได้กล่าวว่าทีมชุดนี้เป็นชุดที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชุดปี 1999, ซึ่งทีมชุดนี้สามารถนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไล่ล่าความสำเร็จอีกครั้ง โดยการคว้าแชมป์ลีก 3 ปีติดต่อกันในปี 2006-2009 และการคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล 2007-2008
ในปี 2010 เนมานย่า วิดิช ได้รับตำแหน่งกัปตันหลังจากการประกาศเลิกเล่นของแกรี เนวิลล์ ผู้เล่นที่มีความโดดเด่นในช่วงนี้คือ ไมเคิล โอเวน อดีตกองหน้าลิเวอร์พูลที่สวมเสื้อหมายเลข 7 ต่อจากคริสเตียโน โรนัลโดคาเบียร์ เอร์นันเดซ บัลกาซาร์ กองหน้าทีมชาติเม็กซิโก, และดาบิด เด เคอา ผู้รักษาประตูทีมชาติสเปนผู้เป็นตัวแทนของฟัน เดอร์ซาร์ ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องโดยชนะเลิศในลีกได้อีกสองครั้งในรอบ 3 ปีคือฤดูกาล 2010-11 และแชมป์ลีกสมัยที่ 20 ฤดูกาล 2012-13 ก่อนจะปิดท้ายยุคสมัยของเซอร์อเล็กซ์ ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ในประวัติศาสตร์ของสโมสร

การเทคโอเวอร์ของมัลคอล์ม เกลเซอร์

ในวันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 (2005) มัลคอล์ม เกลเซอร์ นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกาสามารถครอบครองในสโมสรเกินร้อยละ 70 หลังจากบรรลุข้อตกลงซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นเจ. พี. แมกมานัส และจอห์น แมกเนียร์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ร้อยละ 28.7 จาก และแฮร์รี่ ดอบสัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับสามชาวสกอต[8][9] ในวันที่ 16 พฤษภาคม เกลเซอร์ครอบครองหุ้นเกินร้อยละ 75 ซึ่งทำให้เขาสามารถนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ได้[10] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถูกนำออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนในวันที่ 22 มิถุนายน[11] เกลเซอร์สามารถครอบครองหุ้นร้อยละ 98 เป็นผลสำเร็จในวันที่ 28 มิถุนายน ซึ่งเกินระดับที่กำหนดให้บังคับซื้อหุ้นส่วนที่เหลือ[4] มัลคอล์ม เกลเซอร์แต่งตั้งลูกชายสามคนของเขาเข้าในคณะกรรมการบริหาร ผู้สนับสนุนจำนวนมากไม่พอใจการเข้าครอบครองกิจการของเกลเซอร์[12]

ตกต่ำ


เดวิด มอยส์
ในฤดูกาล 2013-14 หลังจากที่เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ได้ประกาศวางมือจากการคุมทีมไป หลังจากที่คุมทีมมาอย่างยาวนานกว่า 26 ปีครึ่ง ทางทีมและทางตัวของเฟอร์กูสันได้แต่งตั้ง เดวิด มอยส์ ผู้จัดการทีมเอฟเวอร์ตันชาวสกอต ให้มารับหน้าที่ผู้จัดการทีมคนใหม่แทน แต่ปรากฏว่าผลงานของมอยส์ทำให้ทีมมีผลงานย่ำแย่มาก จนในที่สุดเมื่อจบฤดูกาล แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้เพียงแค่อันดับ 7 ไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นในรายการภาคพื้นทวีปได้ทั้งยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก หรือยูโรปาลีก อีกทั้งยังทำอีกหลายสถิติที่ย่ำแย่ จนกลายเป็นสถิติที่แย่ที่สุดของทีมในรอบ 19 ปี ในที่สุดก่อนจะสิ้นสุดฤดูกาลเพียงแค่ 4 นัด ผู้บริหารทีมก็ตัดสินใจปลดมอยส์ออกจากตำแหน่ง พร้อมกับแต่งตั้งไรอัน กิกส์ ปีกซ้ายชื่อดังของทีมวัย 40 ปี รับผิดชอบหน้าที่ผู้จัดการทีมชั่วคราวและผู้เล่นไปในตัวด้วย จนกว่าจะหาผู้จัดการทีมคนใหม่ได้ [13]
ที่สุดในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ทางทีมก็ได้แต่งตั้งลูวี ฟัน คาล ผู้จัดการทีมชาติเนเธอร์แลนด์เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ และกิกส์ที่ประกาศเลิกเล่นไปก็รับหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการทีม[2]
แต่การคุมทีมของฟัน คาล เมื่อเปิดฤดูกาลใหม่มา 2 นัด แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำคะแนนได้เพียง 2 แต้มเท่านั้น จากการที่แพ้สวอนซีซิตี คาสนามโอลด์แทรฟฟอร์ดของตัวเอง 1-2 และเสมอกับซันเดอร์แลนด์ในนัดต่อมา 1-1[14]และในรายการแคปิตอลวันก็ยังเป็นฝ่ายแพ้เอ็มเคดอนส์ ซึ่งเป็นทีมในลีกวันไปอีก 4-0 ทำให้ตกรอบ 2 ไปทันที [15]
ในพรีเมียร์ลีกนัดถัดมา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ชัยชนะนัดแรก เมื่อเป็นฝ่ายชนะคริสตัลพาเลซ ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดของตัวเอง 2-0 แต่ทว่าในนัดต่อมาเมื่อเจอกับเลสเตอร์ซิตี ที่เป็นทีมที่เลื่อนชั้นขึ้นมาจากเดอะแชมเปียนชิป ที่สนาม คิงพาวเวอร์สเตเดียม ถึงแม้จะเป็นฝ่ายขึ้นนำไปก่อน 3-1 แต่ทว่าในครึ่งหลังกลับถูกเลสเตอร์ซิตีแซงจนชนะไป 5-3 ซ้ำไทเลอร์ แบล็คเก็ตต์ กองหลังของทีมก็ถูกใบแดงไล่ออกในนาทีที่ 83 อีกด้วย ทำให้เมื่อผ่านไป 5 นัด อันดับของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่ที่อันดับที่ 12 มีเพียง 5 คะแนนเท่านั้น[16]ซึ่งเมื่อเทียบสถิติกับเดวิด มอยส์ เมื่อฤดูกาลที่แล้ว พบว่าฟัน คาล มีสถิติแย่กว่ามอยส์เสียอีก เพราะ 5 นัดแรกในฤดูกาลนี้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดยังไม่พบกับทีมใหญ่เลย ผิดกับฤดูกาลที่แล้วที่พบกับทีมใหญ่ถึง 3 ทีม คือ เชลซี, ลิเวอร์พูล และแมนเชสเตอร์ซิตี ใน 5 นัดแรก และมีรายงานว่าผู้เล่นบางคนถึงกับกล่าววาจาหยาบคายออกมาในห้องพักหลังจากแข่งขัน ซึ่งแสดงออกถึงความไม่พอใจในตัวฟัน คาล[17]
โดยฟัน คาล ได้กล่าวว่าขอเวลาให้ตนเอง 4 เดือนเพื่อที่จะปรับทีมให้ลงตัวตามแผนการเล่น[18] ทั้งที่ก่อนเปิดฤดูกาลผลงานของฟัน คาล พาทีมชนะรวดทั้งหมด 6 นัดในการแข่งขันนัดอุ่นเครื่อง[19]

ผู้เล่นผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558[20][21]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
No.ตำแหน่งผู้เล่น
1สเปนGKดาบิด เด เคอา
2บราซิลDFราฟาเอล
3อังกฤษDFลู้ก ชอว์
4อังกฤษDFฟิล โจนส์
5อาร์เจนตินาDFมาร์โกส โรโค
6ไอร์แลนด์เหนือDFจอนนี อีแวนส์
7อาร์เจนตินาMFอังเคล ดี มารีอา
8สเปนMFควน มาตา
9โคลอมเบียFWราดาเมล ฟัลกาโอ (ยืมตัวมาจาก มอนาโก)
10อังกฤษFWเวย์น รูนีย์ (กัปตัน)
11เบลเยียมMFอัดนัน ยานูไซ
12อังกฤษDFคริส สมอลลิง
13เดนมาร์กGKอันเนอส์ ลินเนอกา
16อังกฤษMFไมเคิล คาร์ริก
17เนเธอร์แลนด์DFเดลีย์ บลินด์
18อังกฤษMFแอชลีย์ ยัง
20เนเธอร์แลนด์FWโรบิน ฟัน แปร์ซี
No.ตำแหน่งผู้เล่น
21สเปนMFอันเดร์ เอร์เรรา
24สกอตแลนด์MFแดร์เรน เฟลตเชอร์ (รองกัปตัน)
25เอกวาดอร์MFอันโตเนียว บาเลนเซีย
28บราซิลMFอังเดร์ซง
31เบลเยียมMFมารวน แฟลายนี
32สเปนGKบิกตอร์ บัลเดส
33ไอร์แลนด์เหนือDFแพดดี แมคแนร์
35อังกฤษMFเจสซี ลินการ์ด
36เบลเยียมDFมาร์นิก แฟร์เมิล
37สวิตเซอร์แลนด์DFไซดี ยันโก
39อังกฤษDFทอม ทอร์ป
40อังกฤษGKเบน เอมอส
41อังกฤษDFรีซ เจมส์
42อังกฤษDFไทเลอร์ แบล็กกิตต์
44บราซิลMFอันเดรอัส เปเรย์รา
48อังกฤษFWวิลล์ คีน
49อังกฤษFWเจมส์ วิลสัน
50อังกฤษGKแซม จอห์นสโตน

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
No.ตำแหน่งผู้เล่น
14เม็กซิโกFWคาเบียร์ เอร์นันเดซ (ยืมตัวไป เรอัลมาดริด จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2015)[22]
22อังกฤษMFนิก โพเวลล์ (ยืมตัวไป เลสเตอร์ซิตี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2015)[23]
23อังกฤษMFทอม เคลเวอร์ลีย์ (ยืมตัวไป แอสตันวิลลา จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2015) [24]
29อังกฤษFWวีลฟรีด ซาอา (ยืมตัวไป คริสตัลพาเลซ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2015)[25]
No.ตำแหน่งผู้เล่น
30อุรุกวัยDFกีเยร์โม บาเรลา (ยืมตัวไป เรอัลมาดริดกัสตียา จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2015)[26]
38อังกฤษDFไมเคิล คีน (ยืมตัวไป เบิร์นลีย์ จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2015)[27]
โปรตุเกสMFนานี (ยืมตัวไป สปอร์ติก จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2015)[28]
ชิลีFWอังเคโล เอนรีเกซ (ยืมตัวไป ไดนาโมซาเกร็บ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2015)[29]

ผู้เล่นชุดเยาวชน

Current Academy players

width=5%PlayerDate of birthPositionInternational capsPrevious clubJoined United
Young Professionals
อังกฤษSam Johnstone25 มีนาคม ค.ศ. 1993(21 ปี)GKCapped at Under-19 levelJuly 2009
เบลเยียมMarnick Vermijl13 มกราคม ค.ศ. 1992(23 ปี)DFCapped at Under-18 levelStandard LiègeJuly 2010[30]
สาธารณรัฐไอร์แลนด์Sean McGinty11 สิงหาคม ค.ศ. 1993(21 ปี)DFCapped at Under-19 levelCharlton Athletic[31]July 2009
อังกฤษLuke Giverin4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993(21 ปี)DF
อังกฤษEzekiel Fryers9 กันยายน ค.ศ. 1992(22 ปี)DFCapped at Under-19 level
สาธารณรัฐไอร์แลนด์Michael Keane11 มกราคม ค.ศ. 1993(22 ปี)DFCapped at Under-19 levelJuly 2009
อังกฤษTom Thorpe13 มกราคม ค.ศ. 1993(22 ปี)DFCapped at Under-17 levelJuly 2009
อิตาลีMichele Fornasier22 สิงหาคม ค.ศ. 1993(21 ปี)DFCapped at Under-16 levelFiorentina[32]September 2009
อังกฤษScott Wootton12 กันยายน ค.ศ. 1991(23 ปี)DFCapped at Under-17 levelLiverpool[33]July 2007
สวิตเซอร์แลนด์Frédéric Veseli20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992(22 ปี)DFCapped at Under-20 levelManchester City[34]January 2012
อังกฤษReece Brown1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991(23 ปี)DF/MFCapped at Under-19 levelFletcher Moss Rangers[35]July 2008
อังกฤษRyan Tunnicliffe30 ธันวาคม ค.ศ. 1992(22 ปี)MF/DFCapped at Under-17 levelRoach Dynamos[36]July 2009
ฝรั่งเศสPaul Pogba15 มีนาคม ค.ศ. 1993(21 ปี)MFCapped at Under-19 levelLe Havre[37]October 2009
อังกฤษLarnell Cole9 มีนาคม ค.ศ. 1993(21 ปี)MFCapped at Under-19 levelJuly 2009
สาธารณรัฐไอร์แลนด์Robbie Brady14 มกราคม ค.ศ. 1992(23 ปี)MFCapped at Under-21 levelSt Kevin's BoysJuly 2008
อิตาลีDavide Petrucci5 ตุลาคม ค.ศ. 1991(23 ปี)MFCapped at Under-19 levelRomaMarch 2009
อังกฤษWill Keane11 มกราคม ค.ศ. 1993(22 ปี)FWCapped at Under-21 level
อังกฤษJohn Cofie21 มกราคม ค.ศ. 1993(22 ปี)FWCapped at Under-17 levelBurnley[38]July 2009
อังกฤษJesse Lingard15 ธันวาคม ค.ศ. 1992(22 ปี)FWCapped at Under-17 levelJuly 2009
2nd Year Scholars (players born between 1 September 1993 and 31 August 1994)
ออสเตรเลียLiam Jacob18 สิงหาคม ค.ศ. 1994(20 ปี)GKLiverpool[39]July 2010
สาธารณรัฐไอร์แลนด์Joe Coll2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994(21 ปี)GKCapped at Under-17 levelGlenea UnitedJuly 2010
อังกฤษTyler Blackett2 เมษายน ค.ศ. 1994(20 ปี)DFCapped at Under-16 levelJuly 2002
ไอร์แลนด์เหนือLuke McCullough15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994(20 ปี)DFCapped at Under-17 levelDungannon SwiftsJuly 2010
อังกฤษLuke Hendrie27 สิงหาคม ค.ศ. 1994(20 ปี)DF/MFCapped at Under-16 levelBradford CityJuly 2008
เบลเยียมCharni Ekangamene16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994(20 ปี)MFCapped at Under-16 levelRoyal AntwerpJuly 2010
เวลส์Tom Lawrence13 มกราคม ค.ศ. 1994(21 ปี)FWCapped at Under-17 levelJuly 2003
เนเธอร์แลนด์Gyliano van Velzen14 เมษายน ค.ศ. 1994(20 ปี)FWCapped at Under-17 levelAjaxNovember 2010[40]
1st Year Scholars (players born between 1 September 1994 and 31 August 1995)
อังกฤษJonny Sutherland3 กันยายน ค.ศ. 1994(20 ปี)GKCapped at Under-16 levelCrewe AlexandraJuly 2011
สกอตแลนด์Donald Love2 ธันวาคม ค.ศ. 1994(20 ปี)DFCapped at Under-17 levelJuly 2002
อังกฤษLiam Grimshaw2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995(20 ปี)DFJuly 2002
อังกฤษLouis Rowley21 เมษายน ค.ศ. 1995(19 ปี)DFWalsallApril 2011
เวลส์Declan Dalley7 มกราคม ค.ศ. 1995(20 ปี)DFCardiff CityJuly 2011
อังกฤษMatthew Wilkinson13 มกราคม ค.ศ. 1995(20 ปี)DFJuly 2002
อังกฤษJack Rudge15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994(20 ปี)MF/DFJuly 2001
อังกฤษJoe Rothwell11 มกราคม ค.ศ. 1995(20 ปี)MFJuly 2001
นอร์เวย์Mats Møller Dæhli2 มีนาคม ค.ศ. 1995(19 ปี)MFCapped at Under-15 levelStabæk IFNovember 2010[41]
อังกฤษJames Weir4 สิงหาคม ค.ศ. 1995(19 ปี)MFPreston North EndJuly 2008
อังกฤษBen Pearson4 มกราคม ค.ศ. 1995(20 ปี)MF/FWJuly 2004
ไอร์แลนด์เหนือPatrick McNair27 เมษายน ค.ศ. 1995(19 ปี)MFCapped at Under-17 levelBallyclare ColtsJuly 2011
เบลเยียมAdnan Januzaj5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995(19 ปี)MFAnderlechtMarch 2011[42]
อังกฤษJack Barmby14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994(20 ปี)FWCapped at Under-16 levelJuly 2008
สาธารณรัฐไอร์แลนด์Sam Byrne23 กรกฎาคม ค.ศ. 1995(19 ปี)FWSt. Joseph'sJuly 2011[43]
เนเธอร์แลนด์Kenji Gorré29 กันยายน ค.ศ. 1994(20 ปี)FWJuly 2002
เบลเยียมAndreas Pereira1 มกราคม ค.ศ. 1996(19 ปี)MFPSV EindhovenJanuary 2012
อิตาลีPierluigi Gollini18 มีนาคม ค.ศ. 1995(19 ปี)GKFiorentinaMarch 2012

เกียรติประวัติ

ตัวเลขฤดูกาลตามปีค.ศ.
  • 1907-08, 1910-11, 1951-52, 1955-56, 1956-57, 1964-65, 1966-67, 1992-93, 1993-94, 1995-96, 1996-97, 1998-99, 1999-2000, 2000-01, 2002-032006-072007-08, 2008-09, 2010-112012-13
  • 1935-36, 1974-75
  • 1909, 1948, 1963, 1977, 1983, 1985, 1990, 1994, 1996, 1999, 2004
  • 1992, 2006, 2009, 2010
  • 1968, 1999, 2008
  • 1991
  • อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ: 1
  • 1999
  • ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ: 1
  • 2008
  • ยูโรเปี้ยนซูเปอร์คัพ: 1
  • 1991
  • แชริตี้ชิลด์/คอมมูนิตี้ชิลด์: 17 (13 แชมป์เดี่ยว, 4 แชมป์ร่วม*)
  • 1908, 1911, 1952, 1956, 1957, 1965*, 1967*, 1977*, 1983, 1990*, 1993, 1994, 1996, 1997, 2003, 2007, 2008,2010
  • BBC Sports Personality of the Year Team Award
  • 1968 & 1999

สถิติที่สำคัญของสโมสร

(สถิติล่าสุดเมื่อ 8 ธันวาคม 2556)

สถิติลงเล่นมากที่สุด

(สัญลักษณ์ ↓ แสดงถึงกำลังเล่นอยู่ในสโมสร)
อันดับรายชื่อฤดูกาลลงเล่นประตู
1เวลส์ ไรอัน กิ๊กส์1990 - ปัจจุบัน954168
2อังกฤษ บ็อบบี ชาร์ลตัน1953 - 1973758249
3อังกฤษ บิลล์ โฟ้กส์1950 - 19706889
4อังกฤษ พอล สโคลส์1994 - 2011, 2012 - 2013718155
5อังกฤษ แกรี่ เนวิลล์1992 - 20115977
6อังกฤษ อเล็กซ์ สเต็ปนี่ย์1966 - 19785392
7ประเทศไอร์แลนด์ โทนี่ ดัน1960 - 19735352
8ประเทศไอร์แลนด์ เดนิส เออร์วิน1990 - 200252933
9อังกฤษ โจ สเปนซ์1919 - 1933510168
10สกอตแลนด์ อาเธอร์ อัลบิซตัน1974 - 19884857

สถิติทำประตูสูงสุด

(สัญลักษณ์ ↓ แสดงถึงกำลังเล่นอยู่ในสโมสร)
อันดับรายชื่อฤดูกาลลงเล่นประตู
1อังกฤษ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน1953 - 1973758249
2สกอตแลนด์ เดนิส ลอว์1962 - 1973404237
3อังกฤษ แจ็ก โรว์ลีย์1937 - 1955424211
4อังกฤษ เวย์น รูนีย์2004 - ปัจจุบัน421207
5 =อังกฤษ เดนนิส ไวโอเล็ต1949 - 1962293179
5 =ไอร์แลนด์เหนือ จอร์จ เบสต์1963 - 1974470179
7 =เวลส์ ไรอัน กิ๊กส์1990 - ปัจจุบัน954168
7 =อังกฤษ โจ สเปนซ์1919 - 1933510168
9เวลส์ มาร์ค ฮิวจ์ส1980 - 1986, 1988 - 1995467163
10อังกฤษ พอล สโคลส์1994 - 2011, 2012 - 2013718155

สถิติของสโมสร

สถิติอื่นๆ
  • ในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา (1991-2009) เป็นสโมสรเดียวที่จบฤดูกาลไม่ต่ำกว่าอันดับ 3
  • ทำแต้มในลีกรวมทุกลีก ได้เป็นอันดับหนึ่งตลอดกาล (5621 แต้ม อันดับ 2 และ 3 คือลิเวอร์พูลและอาร์เซน่อล ได้ 5565 และ 5392 แต้มตามลำดับ)